Big Data คือปริมาณข้อมูล(Data)จำนวนมหาศาล ที่เกิดขึ้นแต่ละวัน เช่น ข้อมูลจากการทำธุรกิจ ข้อมูลจากการซื้อขายสินค้า ข้อมูลคนผ่านเข้าออกสถานีรถไฟ หรือ ข้อมูลคนที่ใช้บริการของ facebook ข้อมูลที่มีปริมาณมหาศาลจนซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ธรรมดานั้นไม่สามารถที่จะจัดการหรือวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นต้องมีเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมไอทีรุ่นใหม่ ซึ่งอาจมาในรูปแบบซอฟต์แวร์ ที่สามารถรองรับการจัดเก็บ การจัดการ กรองเลือกข้อมูล การวิเคราะห์ แสดงผล และการใช้งานข้อมูลที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
Volume คือ ข้อมูลต้องมีปริมาณมาก ปัจจุบัน ข้อมูลที่เกิดขึ้นบนโลกอินเตอร์เน็ตนั้นมีมากกว่าข้อมูลที่ถูกจัดเก็บเมื่อ 20 ปีที่แล้วหลายเท่าตัว นอกจากนี้การทำธุรกรรมของผู้บริโภคแต่ละคนก็ก่อให้เกิดข้อมูลมหาศาลตลอดเวลาในทุกๆ วัน
Velocity คือ ความเร็ว ทั้งในแง่ของการผลิตข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ประมวลผลข้อมูล และแสดงผลลัพธ์ เนื่องจากข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ดังนั้น Big Data จึงถูกนำมาใช้งานอย่างรวดเร็วและเรียลไทม์ เช่น การทำ Fault Detection ในระบบการธนาคาร ที่ต้องดึงข้อมูลมาจากหลายแหล่ง และต้องทำอย่างต่อเนื่องในขณะนั้น ที่เห็นได้ชัดเจนคือหลายแอพพลิเคชั่นให้ความสำคัญกับ “ความเร็ว” มากกว่า “ปริมาณ” ข้อมูล เพราะธุรกิจใดที่สามารถเข้าถึงและจัดการข้อมูลได้ทันทีก็ย่อมได้เปรียบคู่แข่ง
Variety คือ ข้อมูลต้องมีความหลากหลาย และแตกต่างกันในรายละเอียด ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบข้อมูลหรือชนิดของข้อมูล เช่นข้อความ ตัวเลข วิดีโอ รูปภาพ สัญญาณสัญญาณจีพีเอส ข้อมูลจากเซนเซอร์ รวมถึงแหล่งของข้อมูลที่มีช่องทางเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ sms จากโทรศัพท์มือถือ ข้อความจาก Twitter สตอรี่ใน Instagram รายการสดใน Facebook ไปจนถึงเสียงเพลงจากแอพ TikTok เป็นต้น
การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่
การวิเคราะห์ข้อมูล Big data อาศัยหลักการพื้นฐานบางอย่างเพื่อพัฒนาเป็นเทคนิคในการดึงข้อมูลสำคัญออกจากชุดฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยข้อมูลหลากหลายรูปแบบ เพื่อนำมาหา pattern ของข้อมูลที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า หารูปแบบความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ หาแนวโน้มการตลาด เทรนด์ความชอบของลูกค้า และข้อมูลอื่นๆที่เป็นประโยชน์ทางธุรกิจ
Big Data คือ ข้อมูลขนาดใหญ่มากจนซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ธรรมดานั้นไม่สามารถที่จะจัดการหรือวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำการรวบรวมข้อมูลทั้ง Structured (พวกที่เก็บในโครงสร้างตารางข้อมูล) และ Unstructured (พวกที่เป็น text ยาวๆ รูปภาพ และ วิดีโอต่างๆ) มาทำการประมวลวิเคราะห์ข้อมูลและนำไปใช้ประโยชน์
Big data analytics ต้องการเทคโนโลยีชั้นสูงคือ
AI (Artificial Intelligence) ปัญญาประดิษฐ์ ที่มีการวิเคราะห์เชิงลึก คล้ายความฉลาดของมนุษย์ การทำงานที่เปรียบเสมือนมันสมองที่แทรกอยู่ในเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ที่นำไปสู่การเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในอุตสาหกรรมต่างๆ เร็วกว่า และแม่นยำ เกิดจากการประมวลผลจากข้อความรับเข้า แล้วแปลงเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ต้องการ
Machine Learning คือการสอนอัลกอริทึมให้เรียนรู้ทำความเข้าใจและตัดสินใจได้ด้วยตัวเองจาก ข้อมูลที่ป้อนให้
Deep Learning วิธีประมวลผลแบบขนาน (parallel processing) เพื่อทำให้มันสามารถเข้าใจและเรียนรู้จากข้อมูลจำนวนมากที่ได้รับอย่างต่อเนื่อง
ทำไมข้อมูลขนาดใหญ่จึงมีความสำคัญ?
ความสำคัญของบิ๊กดาต้าไม่ใช่เพียงแค่ปริมาณข้อมูลจำนวนมากที่คุณมี หากแต่เป็นการที่คุณจัดการกับมันต่างหาก คุณสามารถได้รับข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น เพื่อค้นหาคำตอบซึ่งจะช่วยในการ
1) ลดต้นทุน
2) ลดเวลา
3) พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และหาข้อเสนอที่ดีที่สุด และ
4) ตัดสินใจอย่างชาญฉลาด เมื่อคุณรวมข้อมูลบิ๊กดาต้าเข้ากับ การวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพ คุณจะสามารถทำงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจให้บรรลุผลได้
การมีข้อมูลจำนวนมาก เปรียบได้กับการมีน้ำมันดิบอยู่ใต้ผืนดิน แต่หากยังไม่มีการขุดค้นมันขึ้นมาและนำไปกลั่นให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ก็จะยังไม่เกิดประโยชน์ กุญแจสำคัญของ Big Data ก็เช่นกัน ต้องอาศัยการจัดการข้อมูล การเชื่อมโยงบูรณาการ และนำมาวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อตอบโจทย์ด้านต่าง ๆ ซึ่งในอนาคต ภายใต้แผนกลยุทธ์ฯ เราจะได้เห็นถึงการใช้ประโยชน์จาก Big Data ของข้อมูลการชำระเงินอย่างเป็นรูปธรรม
ในภาครัฐเองมีการขยับตัวพัฒนาระบบ Big Data ขึ้นมาเช่นกัน อาจจะเห็นได้จากนโยบายลดใช้สำเนาบัตรประชาชนใช้ใบประชาชนใบเดียวแทนในการมาติดต่อราชการ เป็นต้น
คำถามที่สำคัญ คือ ระบบงานของภาครัฐ ข้าราชการ จะสามารถปรับเปลี่ยนได้มากน้อยแค่ไหน ผู้เขียนเองพอได้เห็นมาบ้างในจดหมายตอบรับของราชการที่ส่งมาพร้อมกับ QR Code เพื่อให้สแกนไปดาวน์โหลดข้อมูลในระบบCloud การส่งจดหมายถึงราชการผ่านทางอีเมล
ในด้านการตลาด Big Data ได้กลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญต่อการกำหนดกลยุทธ์การตลาด โดยเฉพาะการทำ Online Marketing เนื่องจากการเกบรวบรวมข้อมูลผ่านระบบดิจิทัลสามารถทำได้ง่ายและสะดวกว่าแบบอนาล๊อกดั้งเดิม เช่นการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆในการเก็บและรวบรวมข้อมูล
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น